ภาพกิจกรรมปี 2 เทอม 2

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 4





วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ 2552

กลุ่มที่1 ความหมายของภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น การใช้คำพูดในการสื่อสารและการกระทำที่แสดงออกมาเพื่อจะสื่อถึงความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลว่าต้องการทำอะไรหรือต้องการอะไร



กลุ่มที่ 2 ทฤษฎีทางสติปัญญาเพียเจต์ ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กโดยผ่านระบบประสาท การขยายโครงสร้าง การปรับเข้าสุ้โครงสร้าง



กลุ่มที่ 3 แนวคิดนักการหลัการสอนภาษาแบบองค์รวมหลักการอ่านและการเขียนภาษาแบบองค์รวม- ผุ้อ่านจะต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจ- ผู้อ่านจะต้องใช้กลวิธีในการอ่าน- การเขียนแบบองค์รวมจะเน้นให้เห้นความสัมพันธ์ของการอ่านและการเขียนหลักการจัดการเรียนการสอนภาษา- ส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน- ส่งเสริมการรัการอ่านโดยการจัดเตรียมสิ่งพิมพ์ต่างๆ- ผู้เรียนจะมีจุดประสงค์ย่อยของตนเอง- ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนรู้จักใช้กระบวนกานอ่านอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการชำนาญ

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 3


วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ 2552

เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กไม่ใช่การสอนเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียนเท่านั้นรวมถึงทักษะการฟังการพูดเพราะการฟังการพูดเป็นทักษะของการเขียน
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1. ครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไร
2. ประสบการณ์ทางภาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
3. เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
4. เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าเราสอนแบบเป็นธรรมชาติ
5. ให้เด็กรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียนนั้นๆ
ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
1. เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วอยู่ในความสนใจของเด็ก เช่น ชื่อของตัวเอง
2. ให้ความเคารพและยอมรับภาษาที่เด็กใช้
3. การประเมินโดยการสังเกต
4. ใช้วีธีการประเมินที่เหมาะสม และจำกัดการประเมินแบบต่างๆ
5. ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น และกล้าแสดงตน
6. ให้เด็กอ่านสิ่งที่เด็กคุ้นเคย สามารถเดาคาดคะเนได้
7. พัฒนาด้านจิตพิสัย และพัฒนาทางความคิดให้เด็กมีความรักในภาษา

ข้อควรปฎิบัติในการสอนภาษา

ควรสอนอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การจับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว เช่น การเรียนภาอาจแทรกอยู่ในกิจกรรมศิลปะ
ควรสอนโดยไม่มีการแยกกลุ่มเด็กแก่งเด็กอ่อน เพราะการแยกกลุ่มอาจเป็นการสร้างปมด้อย หรือสร้างความไม่เชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก
การที่เด็กเกิดมาพร้อมความสนใจอยากรู้อยู่แล้วจะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาจำคำต่างๆได้ โดยครูอาจใช้ความคิดเกี่ยวข้องกับภาษาของเด็กมาสอน




วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 2


วันศุกร์ที่ 13 พฤสจิกายน พ.ศ 2552
อาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คน


จิตวิทยาการเรียนรู้(Psychology of Learning)
มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active) และสร้างความรู้
ความเชื่อพื้นฐานของ Constructivism มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ และวิก็อทสกี้
ทฤษฎี Constructivism จึงแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ
1. Cognitive Constructivism หมายถึงทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ(active) และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น เป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่งเกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
2. Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของวิก็อทสกี้ ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม(Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น
คุณลักษณะของทฤษฎี Constructivism
1. ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4. การจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
บรูนเนอร์ ได้เห็นด้วยกับ พีอาเจต์ว่า คนเรามีโครงสร้างสติปัญญา (Congnitive Structure) มาตั้งแต่เกิด ในวัยทารกโครงสร้างสติปัญญายังไม่ซับซ้อน เพราะยังไม่พัฒนาต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างสติปัญญามีการขยายและซับซ้อนขึ้น หน้าที่ของโรงเรียนก็คือการช่วยเอื้อการขยายของโครงสร้างสติปัญญาของนักเรียน นอกจากนี้บรูนเนอร์ ยังได้ให้หลักการเกี่ยวกับการสอนดังต่อไปนี้
1. กระบวนความคิดของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่ เวลาเด็กทำผิดเกี่ยวกับความคิด ผู้ใหญ่ควรจะคิดถึงพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา ซึ่งเด็กแต่ละวัยมีลักษณะการคิดที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ ครูหรือผู้มีความรับผิดชอบทางการศึกษาจะต้องมีความเข้าใจว่าเด็กแต่ละวัยมีการรู้คิดอย่างไร และกระบวนการรู้คิดของเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่ (Intellectual Empathy)
2. เน้นความสำคัญของผู้เรียน ถือว่าผู้เรียนสามารถจะควบคุมกิจกรรม การเรียนรู้ของตนเองได้ (Self- Regulation) และเป็นผู้ที่จะริเริ่มหรือลงมือกระทำ ฉะนั้น ผู้มีหน้าที่สอนและอบรมมีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อการเรียนรู้โดยการค้นพบ โดยให้โอกาส ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3. ในการสอนควรจะเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคย หรือประสบการณ์ที่ใกล้ตัวไปหาประสบการณ์ที่ไกลตัว เพื่อผู้เรียนจะได้มีความเข้าใจ เช่น การสอนให้นักเรียนรู้จักการใช้แผนที่ ควรจะเริ่มจากแผนที่ของจังหวัดของผู้เรียนก่อนแผนที่จังหวัดอื่นหรือแผนที่ประเทศไทย
อ้างอิง

บันทึกครั้งที่ 1




วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ 2552

น.ส อัญชลี รัตนวรรณ รหัสนักศึกษา 5111207774


การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย มีการจัดการเรียนรู้ทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ให้มีความรู้ความเข้าใจในภาษาของเด็กปฐมวัยมากขึ้น ทำให้มีการสื่อสารกันอย่างเข้าใจ และได้เรียนรู้พัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศในห้องเรียน น่าเรียนมาก มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ค้นหาความรู้ซึ่งคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี อากาศในห้องเรียนก็เย็นสบาย อาจารย์ก็สอนเป็นกันเองกับนักศึกษา
สรุปใจความสำคัญของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็ก
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการดำเนินงาน วางแผน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ประกอบไปด้วย การฟัง พูด อ่าน เขียน และคำนึงถึงความเป็นตัวตนของเด็ก รู้ถึงการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนรู้เตรียมความพร้อมให้กับเด็กได้แสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และสัมผัส

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552