ภาพกิจกรรมปี 2 เทอม 2

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 10

งานวิจัย
วิจัย การพัฒนาทักษะทางภาษา โดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางชื่อวิจัย การพัฒนาทักษะทางภาษา โดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง
ผู้วิจัย กนกศรี วงษ์ษา
การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 17 คน โรงเรียนวัดใดใหญ่ อ.เมือง จ.ลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แผนการจัดการประสบการณ์ กิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง แบบทดสอบความสามารถทางภาษา แบบวัดความรู้ของเด็กปฐมวัย แบบสังเกตุพัฒนาการทางด้านอารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา ใช้ t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.5
ผลการวิจับพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีความสามารถด้านการฟังหลังทดลองสูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีความสามารถด้านการพูดหลังทดลองสูงขึ้น
3. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีความรู้หลังทดลองสูงขึ้น
4. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา หลังทดลองสูงขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 9

ข้อสอบ
จงตอบคำถาม
1.ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาท่านจะต้องศึกษาเรื่องใดบ้าง
ได้ทราบถึงพัฒนาการของเด็กและความพร้อมในแต่ละช่วงวัย เด็กแต่ละวัยจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันตามอายุและยังมีองค์ประกอบของภาษาที่ประกอบด้วยการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อที่จะส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและ สติปัญญา ก่อนมีการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็กครูต้องมีการวางแผน และทำความเข้าใจก่อน ให้เด็กลงมือปฎิบัติ
2.การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีจุดประสงค์เพื่ออะไร?
1.เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
2.เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการคิด
3.เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาให้ดีขึ้น
4.เพื่อการส่งเสริมพัฒนากานทั้ง4ด้านให้กับเด็ก
5.เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาทางภาษาในการสื่อสารกับผู้อื่นในชีวิตประจำวัน
กิจกรรม
เมื่อเด็กๆมาถึงที่โรงเรียนให้เด็กได้เล่าถึงประสบการณ์ต่างๆก่อนมาถึงโรงเรียนว่าเจออะไรบ้าง ทานข้าวกับอะไรมา ใครมาส่งที่โรงเรียน
ประเมิน
สังเกตจากการเล่าเรื่องความสนใจของเพื่อน
6.เพื่อเสริมทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เด็กจะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องต่อไปในภายภาคหน้า
-7.พื่อให้เด็กเกิดการซึมซับประสบการณ์การเรียนรู้
3.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง?
1.เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ภาษากับคนหลายๆกลุ่ม เพื่อพัฒนาความคิดความสามารถของเด็ก
2.ให้ผู้ปครองมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็ก ไม่ว่าจะเป็น การฟัง พูด อ่าน เขียน
3.การจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เหมาะกับอายุ วุฒิภาวะ
4.จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กคือ เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
4.ท่านมีแนวทางในการในการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไร?
การที่ผู้ปกครองพาเด็กไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆพูดคุยซักถามกับเด็กเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรุ้สิ่งต่างๆรอบตัวและผู้ปกครองมีส่วนอย่างมากที่จะพัฒนาทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราเด็กจะมีการเลียนแบบคำพูดหรือกิริยามารยาทของผู้ที่เป็นพ่อและแม่ก่อนที่พ่อแม่จะพูดอะไรควรนึกถึงเด็กก่อนเพราะเด็กอาจเอาไปใช้กับเพื่อนได้
5.ให้ท่านเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมทางภาษาที่ท่านชอบมากที่สุด พร้อมกับให้เหตุผล[ชื่อ,วัตถุประสงค์,กิจกรรมและการประเมิน]
ชื่อกิจกรรม เล่าข่าวเช้านี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กได้ฝึกการใช้ภาษา
2.เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของเด็ก
3. เพื่อใดกได้มีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน
กิจกรรม
เมื่อเด็กมาถึงโรงเรียนให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน เช่น ทานข้าวกับอะไร ใครมาส่งที่โรงเรียน
ประเมิน
1.สังกตการใช้ภาษา
2.สังเกตการาตอบคำถาม
3.สังเกตการร่วมกิจกรรม

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 8


วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2553

วันนี้นำเสนอ Power Point หน้าชั้นเรียนรายงานผลการจัดกิจกรรม ของกลุ่มต่างๆอาจารย์ให้ความเห็นว่
นักศึกษาไม่ควรสรุปฟฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเพียงครั้งเดียวที่เห็นแล้วสรุปผลเลยเพราะเด็กชันปฐมวัยจัดกิจกรรมกลุ่มไม่ได้ เพราะเด็กเล็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอยู่
การบันทึกเสียงนิทานและของเพื่อนคือ สนุกกับคำสั่งsild สวยดี
ตัวหนังสือค่อนข้างเยอะ การนำเสนอของเพื่อน
ติดขัดคงเนื่องมาจากความตื่นเต้นบรรยากาศการเรียนครั้งนี้ย้ายห้องจากห้องเดิมมาห้องใหม่เสียงไมค์ ไม่ดี!!
แต่เพียงไม่นานก็ดีขึ้นเหมือนเดิมเป็นการฟังเพื่อนนำเสนอ การสอนของอาจารย์การเรียนการสอน เป็นแบบพูดคุยซักถามพร้อมสอดแทรกเนื้อหา เพื่อให้จดจำได้ดียิ่งขึ้น เพราะเกิดจากการเข้าใจ ไม่ใช่ท่องจำ...

บันทึกครั้งที่ 7


อาจารย์ให้ทำ mind mapper เกี่ยวกับเรื่องที่หามา

บันทึกครั้งที่ 6


วันที่ 12 กุมภาพันธื พ.ศ 2553
อาจารย์ ให้นักศึกษาไปอ่านเรื่องนิทาน " แม่ไก่สีแดง "คนละหนึ่งบรรทัด ซึ่งวันนี้อาจารย์ได้เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาในให้เล่าและวิเคราะห์เรื่องแม่ไก่สีแดง
ได้แง่คิดในเรื่องของ "ความสามัคคี"การไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น"
กิจกรรมต่อไปในวันนี้คือ การใช้โปรแกรม Mind Mapper
โดยนำนิทานที่เตรียมมาจากสัปดาห์ที่แล้ว
บรรยากาศในห้องเรียน
สนุกสนานแต่ อากาศร้อนไปหน่อย ได้ทำงานร่วมกับเพื่อน

บันทึกครั้งที่ 5


วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2553
วันนี้อาจารย์ทบทวนและพูดคุยกับนักศึกษา เกี่ยวกับงานกลุ่มที่สั่งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม4คน 6กลุ่ม จัดกิจกรรมทางภาษาที่โรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม อาจารย์บอกรายละเอียดและยกตัวอย่างกิจกรรมของแต่ละกลุ่มให้นักศึกษาฟัง และฝึกให้นักศึกษาคิดตาม พร้อมทำความเข้าใจ-พร้อมทั้งให้นักศึกษาทำตารางการจัดกิจกรรมทางภาษาส่งมาให้อาจาย์ดูทุกกลุ่ม-รวมทั้งอาจารย์ตรวจงานปริศนาคำทายให้กับนักศึกษา และยกตัวอย่างการพิมพ์คำและแยกคำเพื่อใช้ในการอ่านให้เด็กอ่านง่ายและให้เด็กได้จำคำต่างๆได้
บรรยากาศในห้องเรียน
ในห้องเรียนวันนี้อากาศเย็นสบาย มีการให้นักศึกษาลองออกมา
นำเสนองานปริศนาคำทายทีละคน

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 4





วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ 2552

กลุ่มที่1 ความหมายของภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น การใช้คำพูดในการสื่อสารและการกระทำที่แสดงออกมาเพื่อจะสื่อถึงความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลว่าต้องการทำอะไรหรือต้องการอะไร



กลุ่มที่ 2 ทฤษฎีทางสติปัญญาเพียเจต์ ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กโดยผ่านระบบประสาท การขยายโครงสร้าง การปรับเข้าสุ้โครงสร้าง



กลุ่มที่ 3 แนวคิดนักการหลัการสอนภาษาแบบองค์รวมหลักการอ่านและการเขียนภาษาแบบองค์รวม- ผุ้อ่านจะต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจ- ผู้อ่านจะต้องใช้กลวิธีในการอ่าน- การเขียนแบบองค์รวมจะเน้นให้เห้นความสัมพันธ์ของการอ่านและการเขียนหลักการจัดการเรียนการสอนภาษา- ส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน- ส่งเสริมการรัการอ่านโดยการจัดเตรียมสิ่งพิมพ์ต่างๆ- ผู้เรียนจะมีจุดประสงค์ย่อยของตนเอง- ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนรู้จักใช้กระบวนกานอ่านอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการชำนาญ